ในช่วงสองปีนี้ ประเทศไทยมีสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพิ่มขึ้น 4,000 เปอร์เซนต์ นับได้ว่ามีอัตราเติบโตสูงที่สุดเป็นอันดับ3 ของโลก ทำให้พรรคการเมืองต่างๆใช้ช่องทางเครือข่ายสังคม (Social Network) เป็นหนทางในการเปิดประตูสู่ฐานเสียงของคนรุ่นใหม่ ซึ่งการตอบรับเป็นไปอย่างดียิ่ง
ในการเลือกตั้งทุกครั้ง การสร้างคะแนนนิยมให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การมีผู้สมัครที่ดี นโยบายพรรคที่ดี แต่ประชาชนขาดการรับรู้ ก็เป็นการยากที่พรรคและผู้สมัครสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ การเลือกตั้งที่ใช้สื่อแบบเก่า เช่น ใบปลิวหาเสียง ป้ายโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ดูจะไม่ใช่สื่ออย่างเดียวในการหาเสียงแล้วเพราะการเลือกตั้งปี 2554 นี้ การหาเสียงทางเครือข่ายสังคม เช่น Face Book, Twitter มีบทบาทอย่างมากต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้ใช้นับสิบล้านคนรวมทั้งการหาเสียงทางเครือข่ายสังคมไม่มีค่าใช้จ่ายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็ว การเลือกตั้งครั้งนี้ทั้งพรรคการเมืองและผู้สมัครได้ใช้เครือข่ายสังคมมาเป็นประโยชน์ในการหาเสียงอย่างมาก มีการนำอุปกรณ์ BlackBerry ซึ่งมีจุดเด่นด้านการสื่อสารรอบด้านมาใช้งานด้านการหาเสียงอย่างกว้างขวาง
สำหรับพรรคใหญ่ 2 พรรคอย่าง พรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ต่างก็ใช้เครือข่ายสังคมมาเป็นจุดสำคัญในการหาเสียงครั้งนี้ โดยพรรคเพื่อไทยจะเน้นหนักไปที่ข้อมูล เนื้อหาสาระ ผลงานของพรรคในรูปคอร์ปอเรท แบรนดิ้ง มากกว่าการสื่อสารในการตลาดหรือประชาสัมพันธ์ ทางพรรคเพื่อไทยไม่ได้หวังการใช้ Social Media สร้างกระแสหลัก สาเหตุที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับเครือข่ายสังคมเป็นกระแสหลักเพราะว่า ฐานเสียงหลักของพรรคเพื่อไทย คือ คนต่างจังหวัดหรือคนรากหญ้าที่ไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตมากเหมือนคนเมือง เพราะฉะนั้นการใช้สื่อนี้จึงเหมือนชกลมไม่ตรงเป้า แตกต่างกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ใช้สื่อเครือข่ายสังคมเป็นเป้าหมายหลัก เป็นสื่อกระแสหลัก เพราะทางพรรคถือว่า Social Media เป็นการสื่อสารสองทาง เพราะสามารถสื่อสารระหว่างพรรคและประชาชนได้โดยตรง ทำให้ได้รับความคิดเห็นโดยตรงของประชาชน สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์คาดหวังคือ คะแนนจากกลุ่มวัยรุ่นที่มีสิทธิลงคะแนนเป็นครั้งแรก (First Voter) และคนรุ่นใหม่วัยทำงาน ที่ในปัจจุบันมีการใช้ Smart Phone gps phone อย่าง BlackBerry จำนวนมาก ซึ่งเป็นที่มีฟังชั่นการใช้งานหลากหลายนานาชนิด เช่น Media Player, ออร์แกไนเซอร์, ซึ่งสามารถรองรับการสื่อสารทางด้านเครือข่ายสังคมได้อย่างเต็มที่
Nenhum comentário:
Postar um comentário